เครื่องรดน้ำสิงหนาท
เครื่องรดน้ำสิงหนาท เป็นเครื่องทุ่นแรงคุณภาพเยี่ยม สามารถให้น้ำต้นไม้ได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยคนควบคุม ราคาประหยัด สามารถทำใช้ได้เอง
ลักษณะและวิธีใช้
1. นำดินใส่ลงไปในกระบะที่ใส่ยาง ดินที่ใช้จะต้องเป็นดินที่อยู่ในสวนที่ต้องการให้น้ำนั้นเอง เพราะจะได้มีการระเหยของน้ำ เหมือนกับพื้นที่สวนนั้น ๆ หากดินในสวนแห้งดินในกระบะก็จะแห้งด้วย การที่ดินในกระบะเบา ลูกตุ้มที่ใช้คอนกรีตผสมใส่กระป๋อง ไว้แล้วนั้น ก็จะกดลงทำให้เหล็กกระเดื่องกดสวิชท์เป็นเหตุให้วงจรปิด ไฟฟ้าเดินติดต่อกันได้ มอเตอร์ก็จะทำงาน ทำให้ดูดน้ำใน แหล่งน้ำไปรดต้นไม้ได้ต่อไป
2. การทำกระบะใส่ดินต้องเจาะรูกระบะเล็กน้อย เพื่อต้องการให้เหมือนกับเมื่อให้น้ำแล้วน้ำก็จะซึมลงไปในดิน และจะต้องตั้ง อุปกรณ์นี้ในที่แจ้งเพราะต้องอาศัยแสงแดดเผาดินในกระบะให้ระเหยด้วย ข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าเมื่อเวลามีฝนตกทั้งวันเครื่องจะไม่ทำงาน เพราะน้ำฝนเข้าไปอยู่ในกระบะทำให้ดินในกระบะชุ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ลูกตุ้มก็จะไม่กดลง เมื่อลูกตุ้มไม่กดมอเตอร์ก็จะไม่ทำงาน
3. ระบบการเดินของน้ำ เมื่อมอเตอร์ทำงาน น้ำก็จะวิ่งไปตามท่อให้น้ำต้นไม้ที่ต่อไว้นั้น ในขณะเดียวกันน้ำก็จะผ่านหัวฉีดไปยัง กระบะ เมื่อน้ำผ่านหัวฉีดไปยังกระบะอิ่มตัว กระบะก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทำให้กระบะกดลง วงจรสวิทช์ก็จะเปิดทำให้ไฟฟ้าตัดมอเตอร์ ไม่ทำงาน เป็นวงจรอย่างนี้ตลอดไป
ข้อสังเกต
หากวันใดอากาศร้อนจากแสงแดด ต้นไม้จะมีการคายน้ำมาก ดินในสวนและ ดินในกระบะจะถูกเผาน้ำให้แห้งเร็ว มอเตอร์ก็จะทำงานบ่อยครั้ง หากวันใดไม่มี แสงแดดหรือฝนตกมอเตอร์ก็จะทำงานน้อย หรือไม่ทำทำงานเลยทั้งวัน สำหรับลูกตุ้มและ กระบะดิน สามารถเลื่อนหาจุดสมดุลย์ได้ หากคำนวณดูว่าต้นไม้ต้องการน้ำมาก ก็จะเลื่อนลูกตุ้มออกไปทางปลายให้มาก มอเตอร์ก็จะทำงานบ่อยขึ้นหรือจะเจาะรูใต้ กระบะให้ใหญ่ขึ้นก็ได้ การปรับหัวฉีดน้ำหรือปรับขดวาวล์ก็มีส่วนช่วยให้การรดน้ำได้ช้าหรือเร็วได้ การติดตั้งนั้นจะต้องตั้งเวลา หรือคำนวณเวลาในการให้น้ำให้ได้เสียก่อน เพื่อดูความแห้งของดอน ความรั่วของน้ำที่ใต้กระบะด้วย และสิ่งที่ต้องคอยดูแลบ่อย ๆ คือ เมื่อไฟฟ้าดับ เพราะการไฟฟ้าดับเป็นเวลายาวนานถึง 6 ชั่วโมง การให้น้ำก็จะนานขึ้นเพราะดินในกระบะมีความแห้งมาก
ประโยชน์
1. ลดแรงงานที่จะต้องไปดูแลการให้น้ำสวนผลไม้ทุกวัน
2. การให้น้ำสวนผลไม้สม่ำเสมอตามสภาพดินฟ้าอากาศของสวนผลไม้นั้น
3. ประหยัดน้ำมากเพราะใช้แบบหัวฉีดพ่นเป็นละออง
4. ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้นำมาประดิษฐ์ เช่น หัวฉีดยาฆ่าแมลง ท่อส่งน้ำ และกระป๋องนม
5. สามารถปรับใช้งานอื่น ๆ ได้อีก นอกจากการให้น้ำผลไม้แล้ว
6. เป็นการเพิ่มความรู้ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และต้นทุนต่ำ
ประโยชน์ต่อชุมชน คือ คุณสิงหนาท แสงประทุม ได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ให้แก่เกษตรกรนักวิชาการ และผู้สนใจโดยทั่วไป นำไปพัฒนาใช้ในวงการเกษตรต่อไป
เครื่องรดน้ำสิงหนาท เป็นเครื่องทุ่นแรงคุณภาพเยี่ยม สามารถให้น้ำต้นไม้ได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยคนควบคุม ราคาประหยัด สามารถทำใช้ได้เอง
ลักษณะและวิธีใช้
1. นำดินใส่ลงไปในกระบะที่ใส่ยาง ดินที่ใช้จะต้องเป็นดินที่อยู่ในสวนที่ต้องการให้น้ำนั้นเอง เพราะจะได้มีการระเหยของน้ำ เหมือนกับพื้นที่สวนนั้น ๆ หากดินในสวนแห้งดินในกระบะก็จะแห้งด้วย การที่ดินในกระบะเบา ลูกตุ้มที่ใช้คอนกรีตผสมใส่กระป๋อง ไว้แล้วนั้น ก็จะกดลงทำให้เหล็กกระเดื่องกดสวิชท์เป็นเหตุให้วงจรปิด ไฟฟ้าเดินติดต่อกันได้ มอเตอร์ก็จะทำงาน ทำให้ดูดน้ำใน แหล่งน้ำไปรดต้นไม้ได้ต่อไป
2. การทำกระบะใส่ดินต้องเจาะรูกระบะเล็กน้อย เพื่อต้องการให้เหมือนกับเมื่อให้น้ำแล้วน้ำก็จะซึมลงไปในดิน และจะต้องตั้ง อุปกรณ์นี้ในที่แจ้งเพราะต้องอาศัยแสงแดดเผาดินในกระบะให้ระเหยด้วย ข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าเมื่อเวลามีฝนตกทั้งวันเครื่องจะไม่ทำงาน เพราะน้ำฝนเข้าไปอยู่ในกระบะทำให้ดินในกระบะชุ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ลูกตุ้มก็จะไม่กดลง เมื่อลูกตุ้มไม่กดมอเตอร์ก็จะไม่ทำงาน
3. ระบบการเดินของน้ำ เมื่อมอเตอร์ทำงาน น้ำก็จะวิ่งไปตามท่อให้น้ำต้นไม้ที่ต่อไว้นั้น ในขณะเดียวกันน้ำก็จะผ่านหัวฉีดไปยัง กระบะ เมื่อน้ำผ่านหัวฉีดไปยังกระบะอิ่มตัว กระบะก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทำให้กระบะกดลง วงจรสวิทช์ก็จะเปิดทำให้ไฟฟ้าตัดมอเตอร์ ไม่ทำงาน เป็นวงจรอย่างนี้ตลอดไป
ข้อสังเกต
หากวันใดอากาศร้อนจากแสงแดด ต้นไม้จะมีการคายน้ำมาก ดินในสวนและ ดินในกระบะจะถูกเผาน้ำให้แห้งเร็ว มอเตอร์ก็จะทำงานบ่อยครั้ง หากวันใดไม่มี แสงแดดหรือฝนตกมอเตอร์ก็จะทำงานน้อย หรือไม่ทำทำงานเลยทั้งวัน สำหรับลูกตุ้มและ กระบะดิน สามารถเลื่อนหาจุดสมดุลย์ได้ หากคำนวณดูว่าต้นไม้ต้องการน้ำมาก ก็จะเลื่อนลูกตุ้มออกไปทางปลายให้มาก มอเตอร์ก็จะทำงานบ่อยขึ้นหรือจะเจาะรูใต้ กระบะให้ใหญ่ขึ้นก็ได้ การปรับหัวฉีดน้ำหรือปรับขดวาวล์ก็มีส่วนช่วยให้การรดน้ำได้ช้าหรือเร็วได้ การติดตั้งนั้นจะต้องตั้งเวลา หรือคำนวณเวลาในการให้น้ำให้ได้เสียก่อน เพื่อดูความแห้งของดอน ความรั่วของน้ำที่ใต้กระบะด้วย และสิ่งที่ต้องคอยดูแลบ่อย ๆ คือ เมื่อไฟฟ้าดับ เพราะการไฟฟ้าดับเป็นเวลายาวนานถึง 6 ชั่วโมง การให้น้ำก็จะนานขึ้นเพราะดินในกระบะมีความแห้งมาก
ประโยชน์
1. ลดแรงงานที่จะต้องไปดูแลการให้น้ำสวนผลไม้ทุกวัน
2. การให้น้ำสวนผลไม้สม่ำเสมอตามสภาพดินฟ้าอากาศของสวนผลไม้นั้น
3. ประหยัดน้ำมากเพราะใช้แบบหัวฉีดพ่นเป็นละออง
4. ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหลือใช้นำมาประดิษฐ์ เช่น หัวฉีดยาฆ่าแมลง ท่อส่งน้ำ และกระป๋องนม
5. สามารถปรับใช้งานอื่น ๆ ได้อีก นอกจากการให้น้ำผลไม้แล้ว
6. เป็นการเพิ่มความรู้ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และต้นทุนต่ำ
ประโยชน์ต่อชุมชน คือ คุณสิงหนาท แสงประทุม ได้เผยแพร่แนวความคิดนี้ให้แก่เกษตรกรนักวิชาการ และผู้สนใจโดยทั่วไป นำไปพัฒนาใช้ในวงการเกษตรต่อไป
พัดใบพ้อ
ใบพ้อ หรือใบกะพ้อ เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นรูปพัด ชาวบ้านในภาคใต้นำใบกะพ้อมาจักสานเป็นพัด เรียกว่า "พัดใบกะพ้อ" หรือ "พัดใบพ้อ" ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมจักสานประเภทหนึ่งที่เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาชาวบ้าน นับเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของภาคใต้ โดยเฉพาะในอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่ที่ผลิตกันจนมีชื่อเสียงในเรื่องพัดใบพ้อ ก็คือหมู่บ้านโคกยาง
ในระยะแรกชาวบ้านร่วมกันจัดหาวัตถุดิบที่มีอยู่มาประดิษฐิ์และหาตลาดจำหน่ายไปตามหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้นำสินค้าไปขายที่กรุงเทพฯ ผลปรากฎว่าได้รับการตอบรับดีมากทำให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้จำนวน มาก ต่อมามีการพัฒนา ฝือมือ รูปแบบ และสีสรร รวมทั้งวัตถุดิบก็ได้พัฒนามาใช้เส้นใยสังเคราะห์มากขึ้น การตลาดก็มีการขยายวงกว้าง มีลูกค้า และพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่
ในระยะแรกชาวบ้านร่วมกันจัดหาวัตถุดิบที่มีอยู่มาประดิษฐิ์และหาตลาดจำหน่ายไปตามหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้นำสินค้าไปขายที่กรุงเทพฯ ผลปรากฎว่าได้รับการตอบรับดีมากทำให้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้จำนวน มาก ต่อมามีการพัฒนา ฝือมือ รูปแบบ และสีสรร รวมทั้งวัตถุดิบก็ได้พัฒนามาใช้เส้นใยสังเคราะห์มากขึ้น การตลาดก็มีการขยายวงกว้าง มีลูกค้า และพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่
การกวาดยา
การกวาดยา คือการเอายาป้ายในลำคอโดยใช้นิ้วมือ ซึ่งโดยปกติจะใช้นิ้วชี้ของมือขวาแต่สำหรับหมอโบราณที่รับรักษาโดยการ กวาดยาอาจใช้นิ้วอื่น ๆ รวม 4 นิ้ว กวาดยาได้ ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือเท่านั้น
สำหรับนิ้วที่ใช้กวาดยานั้น มีความเชื่อต่างกัน บ้างก็ว่าต้องเป็นนิ้วที่มีลายก้นหอย จึงจะใช้กวาดยาได้ บ้างก็ว่าต้องมีเส้นชีวิตยาว จรดโคนนิ้วจะเป็นหมอกวาดยาที่ฉมัง บ้างก็ว่านิ้วที่จะใช้กวาดยาได้ดีที่สุดต้องไปกวาดคอจระเข้ก่อน
วิธีใช้
ใช้กวาดคอเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ โรคที่ใช้การรักษาด้วยการ กวาดยา คือ โรคซาง ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตเห็นได้ เช่น ไม่กินข้าว ปวดหัวและตัวร้อน หรือใช้การกวาดยาในกรณีที่เด็กมีอาการไอ มีเสมหะมาก
หมอจะใช้ยาเม็ดบดให้ละเอียดโดยใช้ครกบดยา ใส่มะนาว พิมเสน และเกลือเม็ดเป็นกระสายบดให้ละเอียดและเข้ากันดี ใช้นิ้วชี้ป้ายยาไว้ที่ปลายนิ้ว ผู้ปกครองจะอุ้มเด็กนอนหงายซึ่งเด็ก ๆ ไม่ชอบ ก็จะอ้าปากร้องไห้ หมอจะใช้จังหวะนี้จับกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างของเด็กไว้มิให้หุบปากได้ พร้อมทั้งเอานิ้วที่มียาแหย่เข้าปากและป้ายลงไปในลำคอโดยเร็ว เมื่อหมอกวาดยาเสร็จแล้วจะต้องทำใจให้เป็นสมาธิ กล่าวคาถาและ เป่ากระหม่อมให้เด็ก สำหรับคาถาต่างครูก็ว่าต่างกันไป แต่มีใจความสำคัญว่า "ขอให้โรคภัยของเด็ก ๆ หายไป"
การกวาดยา คือการเอายาป้ายในลำคอโดยใช้นิ้วมือ ซึ่งโดยปกติจะใช้นิ้วชี้ของมือขวาแต่สำหรับหมอโบราณที่รับรักษาโดยการ กวาดยาอาจใช้นิ้วอื่น ๆ รวม 4 นิ้ว กวาดยาได้ ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือเท่านั้น
สำหรับนิ้วที่ใช้กวาดยานั้น มีความเชื่อต่างกัน บ้างก็ว่าต้องเป็นนิ้วที่มีลายก้นหอย จึงจะใช้กวาดยาได้ บ้างก็ว่าต้องมีเส้นชีวิตยาว จรดโคนนิ้วจะเป็นหมอกวาดยาที่ฉมัง บ้างก็ว่านิ้วที่จะใช้กวาดยาได้ดีที่สุดต้องไปกวาดคอจระเข้ก่อน
วิธีใช้
ใช้กวาดคอเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ขวบ โรคที่ใช้การรักษาด้วยการ กวาดยา คือ โรคซาง ซึ่งเด็กที่เป็นโรคนี้ จะมีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากและคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตเห็นได้ เช่น ไม่กินข้าว ปวดหัวและตัวร้อน หรือใช้การกวาดยาในกรณีที่เด็กมีอาการไอ มีเสมหะมาก
หมอจะใช้ยาเม็ดบดให้ละเอียดโดยใช้ครกบดยา ใส่มะนาว พิมเสน และเกลือเม็ดเป็นกระสายบดให้ละเอียดและเข้ากันดี ใช้นิ้วชี้ป้ายยาไว้ที่ปลายนิ้ว ผู้ปกครองจะอุ้มเด็กนอนหงายซึ่งเด็ก ๆ ไม่ชอบ ก็จะอ้าปากร้องไห้ หมอจะใช้จังหวะนี้จับกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างของเด็กไว้มิให้หุบปากได้ พร้อมทั้งเอานิ้วที่มียาแหย่เข้าปากและป้ายลงไปในลำคอโดยเร็ว เมื่อหมอกวาดยาเสร็จแล้วจะต้องทำใจให้เป็นสมาธิ กล่าวคาถาและ เป่ากระหม่อมให้เด็ก สำหรับคาถาต่างครูก็ว่าต่างกันไป แต่มีใจความสำคัญว่า "ขอให้โรคภัยของเด็ก ๆ หายไป"